สตูลเมื่ออดีต

                                   เมืองสตูลขึ้นต่อเมืองสงขลา (พ.ศ.2382-2387)
          ปี พ.ศ.2382 มีการจัดตั้งเมืองสตูลเป็นเมืองโดยสมบูรณ์ มีพระยาอภัยนุราช (ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ) เป็นผู้ว่าราชการเมืองคนแรก ระยะที่มีการตั้งเมืองใหม่ๆ ได้มอบให้เมืองสงขลาปกครองอีกต่อหนึ่ง เมืองสงขลามีความใกล้ชิดกับเมืองสตูลมาก การคมนาคมสะดวกกว่าเมืองนครศรีธรรมราช ประกอบกับในช่วงที่เมืองสตูล เว้นจาก ผู้ปกครองร่วม 24 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2358-2382 มูเก็บสโตย กลับไปขึ้นต่อ เมืองไทรบุรี ตามเดิมนั้น ฝ่ายกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้ข้าราชการ เมืองสงขลาจำนวนหนึ่ง ทำหน้าที่ดูแลความเรียบปลงโตยร้อยของตลอดมา
         เมืองสตูลขึ้นต่อเมืองสงขลาระหว่างปี พ.ศ.2382-2387 รวมเป็นเวลา 5 ปี แต่ช่วงเวลาดังกล่าว เมืองสตูลได้สร้างปัญหา เป็นที่หนักใจแก่พระยาสงขลา(เกี้ยนเส้ง)ยิ่งนัก เรื่องสำคัญที่ทำให้พระยาสงขลาไม่พอใจเจ้าเมืองสตูล เรื่องแรก เมื่อถึงเวลาเมืองสตูลส่งดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เป็นเครื่องราชบรรณาการ ฐานะเมืองมาลายูฝ่ายใต้ ถวายต่อทางกรุงเทพมหานคร แต่เจ้าเมืองสตูล กลับเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามโบราณประเพณี เรื่องที่สอง จ้าเมืองสตูลมักมีกรณีพิพาทกับเจ้าเมืองประลิส(ตนกูไซยิดฮูเซ็น) พระยาสงขลาจึงแจ้งเรื่องดังกล่าว ไปทางกรุงเทพมหานครทราบ ได้มีคำสั่งจากเบื้องบนให้จ้าเมืองนครศรีธรรมราชกับเจ้าเมืองสงขลา ช่วยกันแก้ไขปัญหาและสามารถตกลงกันได้ เจ้าเมืองสงขลา จึงไม่พอใจเจ้าเมืองสตูล จึงมีใบนอกแจ้งไปยังกรุงเทพมหานคร ให้ยกเมืองสตูลไปขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช อีกประการหนึ่งสงขลามีภาระต้องดูแลดินแดนถึงเจ็ดหัวเมืองอยู่แล้ว ดังนั้นในปีพ.ศ. 2387 เมืองสตูลจึงตกเป็นเมืองขึ้นต่อนครศรีธรรมราชตามข้อเสนอของเจ้าเมืองสงขลา
                                 (บุญเสริม ฤทธาภิรมย์, รวมเรื่องเมืองสตูล. 2548 : 80-81)

                                           เมืองสตูลขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช (2387-2440)
         นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2387 เป็นต้นมา เมืองสตูลต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช แท้จริงแล้วเมืองนครศรีธรรมราช เคยมีความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราชมาก่อน เจ้าพระยานคร(พัฒน์) เคยให้การสนับสนุนพระยาอภัยนุราช(ตนกูบิศนู) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองไทรบุรีมาแล้ว แม้จะไม่ความประสบความสำเร็จก็ตาม ต่างแสดงความมีเยื่อใยต่อกัน มาแต่อดีตเมื่อพระยาอภัยนุราช(ตนกูบิศนู) มีความโน้มเอียง จะเชื่อฟังเจ้าพระยานครศรีธรรมราชมากกว่าเจ้าเมืองไทรบุรี ดังนั้น เมื่อพระยาอภัยนุราช(ตนกูมูฮัมหมัดอาเก็บ) ซึ่งเป็นทายาทเจ้าเมืองสตูลคนก่อน เป็นเจ้าเมืองสตูลคนต่อมา ย่อมเป็นข้อได้เปรียบ ของการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพราะผู้ปกครองเมืองคนก่อนๆ เคยปูพื้นฐานความเข้าใจที่ดีเอาไว้ก่อนแล้ว
            เมืองสตูลขึ้นต่อเมืองนครศรีธรรมราช ระหว่างปีพ.ศ. 2387-2440 เป็นระยะเวลาประมาณ 52 ปี ประเพณีหัวเมืองมลายูต้องปฏิบัติ คือการส่งเครื่องราชบรรณาการ ต่อพระเจ้ากรุงสยามกำหนด 3 ปีต่อครั้ง เมื่อขึ้นต่อเมืองสงขลา เจ้าเมืองสตลละเลยไม่ได้ ส่งเครื่องราชบรรณาการต่อทางกรุงเทพฯ มาแล้วครั้งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อมาขึ้นต่อนครศรีธรรมราช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชต้องดูแลหัวเมืองมาลายูทั้ง 4 เมืองให้ส่งเครื่องราชบรรณาการ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองตามกำหนด หัวเมืองมาลายู ที่มีอยู่ในความปกครองดูแลเมืองนครศรีธรรมราช ได้แก่เมืองไทรบุรี เมืองปะลิส เมืองกุบังบะสู และเมืองสตูล สมัยสตูลขึ้นต่อนครศรีธรรมราช ระหว่างปี พ.ศ.2387-2440 นั้น ตกอยู่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจ้าอยู่หัว คาบเกี่ยวกัน 3 รัชกาล
            ระหว่างปี พ.ศ.2382-2440 เมืองสตูลตกอยู่ในความปกครองดูแลของเมืองสงขลากับเมืองนครศรีธรรมราช(เป็นเวลาประมาณ 57 ปี คือเมืองสงขลา 5 ปีและอีก 52 ปี อยู่ในความปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช แต่เมืองสตูลยังคงมีความสัมพันธ์แนบแน่นมั่นคงต่อเมืองไทรบุรี เนื่องจากผู้ปกครองเมืองมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันโดยเครือญาติมีองค์วานว่านเครือเดียวกันมาก่อน นับตั้งแต่ผู้ปกครองมูเก็บสุโกยคนแรกได้แก่ พระยาอภัยนุราช(ตนกูบิศนู) ผู้เป็นน้องต่างมารดา กับเจ้าพระยาไทรบุรี (ตนกูปะแจรัน) ได้มาปกครองเมืองสตูล ในฐานะมูเก็บ เมื่อปีพ.ศ. 2356-2358 ถึงแม้ว่าสองพี่น้องจะมีเรื่องบาดหมางกันขุ่นเคืองกันก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ฐานะพี่น้องยังคงอยู่ เมืองพระยาอภัยนุราชถึงแก่กรรม ต้องนำไปประกอบพิธีที่เมืองไทรบุรี
                           (บุญเสริม ฤทธิ์ธาภิรมย์, รวมเรื่องเมืองสตูล. 2548 : 81-82)

                                                 สตูลเป็นเมืองขึ้นต่อมณฑลภูเก็ต
                สตูลได้โอนไปขึ้นกับมณฑลภูเก็ต ( พ.ศ. 2452 – 2468 )โดยมีพระยารัษฎานุประดิษฐ์
มหิศรภักดี ( คอซิมบี้ ณ ระนอง ) เป็นสมุหเทศาภิบาล  มณฑลการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป    เนื่องจากสตูลเคยเป็นหัวเมืองมลายมาก่อน  มีพระยาภูมินารถภักดีเป็นผู้ว่าราชการเมือง  ส่นการเมืองนั้นก็ให้กรมการเดิมปฏิบัติหน้าที่สืบต่อไป
          ด้านการศึกษาทางเมืองสตูล  พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี  คือ  ผู้ที่ร่วมวางรากฐานการศึกษาได้  เริ่มต้นจากการจัดให้มีโรงเรียนสอนหนังสือขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่  1  สิงหาคม  พ.ศ. 2453  เราเรียกว่า  “ โรงเรียนไทยมลายู ” มีการสอนทั้งภาษาไทยและมลายูควบคู่กันไปเป็นรูปแบบการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่างคนนับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม  มณฑลภูเก็ตจัดส่งครูสอนภาษาไทยมาให้  ส่วนครูสอนมลายูเลือกจากครูในท้องถิ่น  โรงเรียนไทยมลายูจึงเป็นโรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของจังหวัดสตูล  ต่อมาในปี พ.ศ. 2461  โรงเรียนแห่งนี้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนสตูลวิทยา  ภายหลังได้ตัดชั้นประถมศึกษาไป เหลือแค่ชั้นมัธยมศึกษาอย่างเดียว  จึงเป็นต้นเค้าของโรงเรียนสตูลวิทยาทุกวันนี้
          พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีปกครองเมืองสตูลฐานะเมืองหนึ่งของมณฑลภูเก็ต เพียง 4 ปีเศษเท่านั้น  ท่านเดินทางไปตรวจราชการที่จังหวัดตรัง  เมื่อวันที่  26  กุมภาพันธ์  2455  เวลาประมาณเที่ยงวัน  ท่านถูกคนร้ายคือนายจันทร์ยิงที่บริเวณท่าเรือกันตัง และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่  10  เมษายน  2456  ซึ่งเป็นต้นปีใหม่ ( สมัยนั้นปีใหม่ไทยเริ่มนับ 1 เมษายน ) จึงมีสมุหเทศาภิบาลมณฑลคนต่อมาดำรงตำแหน่งแทนได้แก่  พลโทพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ระหว่างปี พ.ศ. 2456 – 2463  และต่อมาพระยาสุรินทราชา ( ยกยูงวิเศษกุล ) ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 24643 – 2469  หลังจากนั้นสตูลก็ต้องไปขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช
              ( บุญเสริม  ฤทธิ์ธาภิรมย์ , รวมเรื่องเมืองสตูล. 2548 : 93 – 97 )

                                               สตูลเป็นเมืองขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมราช
           เมืองสตูลอยู่ในความปกครองดูแลของมณฑลภูเก็ตเป็นเวลา 16 ปี  เมื่อทางราชการปรับปรุงถนนสายสตูล – ควนเนียง จนใช้การได้  ทำให้การเดินทางระหว่างสตูลกับนครศรีธรรมราชสะดวกกว่าการเดินทางไปมณฑลภูเก็ต สมัยนั้นควนเนียงขึ้นต่ออำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา เส้นทางรถไฟสายใต้ผ่านบ้านควนเนียง ช่วยให้การติดต่อกับมณฑลนครศรีธรรมราชคล่องตัวยิ่งขึ้น
          เมืองสตูลขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมชาติ เพียง  7  ปี นับเป็นเวลาค่อนข้างสั้น  กล่าวได้ว่า สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครศรีธรรมราชมีบทบาทช่วยเหลือสตูลได้ค่อนข้างน้อย  ต่างจากพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี และสมุหเทศาภิบาลคนต่อมา ( พลโทพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร พ.ศ. 2456 – 2463 ) พระยาสุรินทราชา ( นกยูง  วิเศษกุล ) พ.ศ. 2463 – 2469  ) ของมณฑลภูเก็ตที่ได้ช่วยวางพื้นฐานความเจริญของเมืองสตูลไว้ค่อนข้างดีแล้ว  อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่แตกต่างกันก็ได้  คือ เมืองสตูลขึ้นต่อมณฑลภูเก็ตนาน  16  ปี  ในช่วงที่อยู่ในความปกครองของมณฑลนครศรีธรรมราช  พระยาสมันตรัฐบุรินทร์  ยังดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมืองตลอดสมัย
พระยาสมันตรัฐบุรินทร์  ได้สานต่อนโยบายของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี และเทศาภิบาลคนต่อ ๆ มาไว้ เช่น การปกครอง  การศึกษา  การส่งเสริมอาชีพและรายได้ของประชาชน  ตลอดจนการพัฒนาบ้านเมืองด้านอื่น ๆ  เมื่อขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมราชก็ได้เร่งรัดพัฒนาให้เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น        ปี พ.ศ. 2472  พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ก็ได้รับพระบรมราชานุญาติให้ต่ออายุราชการไปจนถึงปี พ.ศ. 2475  อันเป็นปีที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย        ต่อมาได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารออกเป็นราชการบริหารราชการส่วนกลาง  ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น  ตรามพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีราชการบริหารส่วนภูมิภาคเป็นมณฑล เมืองสตูลจึงมีฐานะเป็นจังหวัดโดยสมบูรณ์ ไม่ต้องขึ้นต่อมณฑลนครศรีธรรมราชนับแต่บัดนี้
                  ( บุญเสริม  ฤทธิ์ธาภิรมย์ , รวมเรื่องเมืองสตูล. 2548 : 97 – 99 )

 

ข้อความนี้ถูกเขียนใน การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จังหวัดสตูล คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น